Investment Articles

กู้เงินในประเทศไทย ต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่าไรบ้าง จากแพงสุดถึงถูกสุด ? | TIF

ปกติแล้ว TIF จะมีการเผยแพร่อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนประเภทต่าง ๆ ให้ทราบกันเป็นประจำทุกเดือน (ของเดือนพ.ค. 61 โปรดรออีกไม่นาน) โดยตัวเลขของเดือนเม.ย. เราก็แสดงกันไปว่า ถ้าลงทุนในหุ้นสามัญโดยทั่ว ๆ ไป ในช่วง 5 ปีล่าสุด จะได้ผลตอบแทน ประมาณ 7.52% ต่อปี ใกล้เคียงกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อย่างคอนโดมิเนียมและที่ดินเปล่า

ก็เลยคิดว่า อาจจะน่าสนใจเช่นกัน หากนำตัวเลขดอกเบี้ยการกู้ยืมที่ผู้กู้ยืม ต้องเสียไป มาให้ดูกันเป็นข้อมูลด้วย เพื่อให้เห็นภาพครบว่า

ถ้าลงทุน จะมีโอกาสได้เท่าไร และถ้าเป็นหนี้ จะเสียเท่าไร

ทั้งนี้ ต้องอธิบายไว้ก่อนว่า การเป็นหนี้ไม่ได้เป็นเรื่องเลวร้ายเสมอไป โดยเฉพาะหนี้ธุรกิจที่สามารถนำเงินกู้ไปสร้างผลตอบแทนหรือกำไรจากค้าขายได้ในสูงกว่าต้นทุนอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ซึ่งผมจะเรียกการกู้ยืมแบบนี้ว่า “smart leverage” คือทำแล้วยิ่งรวยขึ้น .. แต่การเป็นหนี้แบบที่ไม่ดี ก็มีอยู่เช่นกัน นั่นคือการใช้จ่ายเกินตัวในเรื่องที่ไม่จำเป็น และต้องกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก ซึ่งคำว่า “สูงมาก” ในความเห็นของผมคือ เกิน 10% ต่อปี

มาไล่ดูกันเท่าที่จะรวบรวมได้ ว่าการกู้ยืมแบบต่าง ๆ ในประเทศไทย มีต้นทุนดอกเบี้ยที่ผู้กู้ต้องจ่าย ประมาณไหนกันบ้าง เรียงจากสูงสุดไปต่ำสุด ซึ่งทุกแบบแสดงเป็นอัตราต่อปี

ซึ่งจะเห็นว่า การเป็นรัฐบาล จะสามารถกู้ยืมได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด ไม่ถึง 2% ต่อปี ส่วนบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือในระดับสูง (ดูจากเครดิตเรทติ้ง)  ก็สามารถกุู้ยืมเงินด้วยการออกหุ้นกู้ได้ในต้นทุนที่ต่ำมากเช่นกัน

ส่วนการกู้ยืมเงินไปใช้จ่ายสำหรับบุคคล โดยเฉพาะบัตรเครดิตที่ไม่ได้ชำระเต็มทุกเดือน และบัตรกดเงินสด เหมือนว่าได้เงินเดืิอนมาเท่าไร ก็แทบต้องจ่ายดอกเบี้ยไปจนหมดตัว .. ดังนั้น หากจะเป็นหนี้เพื่อการใช้จ่ายและต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูง ต้องคิดให้ถี่ถ้วนมาก ๆ .. หากมีหลักทรัพย์เช่นบ้านหรือรถ และมั่นใจว่าจะใช้คืนเงินกู้ได้ตามกำหนด ก็ควรเลือกเงินกู้แบบมีหลักประกันจะดีกว่า เพราะดอกเบี้ยต่ำกว่ามากมาย ซึ่งยังเป็นโอกาสในการ refinance หนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูง มาเป็นดอกเบี้ยที่อัตราต่ำลงด้วย (เพราะมีการวางหลักประกัน)

ต้องไม่ลืมว่า ถ้าลดหนี้ที่ไม่จำเป็นลงได้ ก็จะเริ่มมีเงินออม เมื่อมีเงินออม ก็ขยับขยายไปเริ่มลงทุนได้

#ข้ามจากลบเป็นบวก

Advertisement

Categories: Investment Articles