TIF | Thailand Investment Forum

สรุปกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล การกำกับผู้ทำธุรกิจและการเก็บภาษีบุคคล เริ่มใช้ 14 พ.ค. 61 | TIF

สารบัญ (มีไว้หน่อย เพราะเนื้อหายาว)

1. พระราชกำหนด และราชกิจจานุเบกษาคืออะไร
2. นิยามที่สำคัญ และธุรกิจที่เข้าข่ายกฎหมายนี้
3. ประเด็นสำคัญที่ภาครัฐเน้นควบคุม
4. โทษอาญา
5. แนวทางสำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจอยู่แล้วก่อนหน้า
6. สรุปใจความฝั่งผู้ออก ICO และผู้ประกอบธุรกิจด้านนี้
7. สรุปเกณฑ์ด้านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้วในวันที่ 13 พ.ค. 2561 โดยกำหนดให้มีผลบังคับใช้ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป นั่นคือ จะมีผลบังคับใช้แทบจะทันที คือตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 2561 ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกกฎหมายนี้ให้สั้นลงว่า “พ.ร.ก.ฯ” โดยการที่ห้อย “ฯ” ก็เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าหมายถึง พ.ร.ก.นี้เป็นการเฉพาะ ไม่ได้หมายถึง พ.ร.ก. อื่นใด /T

แต่ก่อนจะที่จะไปถึงการสรุปพ.ร.ก.ฯ ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมเล็กน้อยว่า “พระราชกำหนด” คือกฎหมายลักษณะใด ต่างจาก “พระราชบัญญัติ” อย่างไร และ “ราชกิจจานุเบกษา” คืออะไร

ทีนี้ก็มาเข้าเรื่องกฎหมายนี้ได้แล้วล่ะครับ /I

1. เหตุผลที่ภาครัฐต้องเร่งออกกฎหมายนี้ ได้มีอธิบายไว้ในพ.ร.ก.ฯ โดยสรุปว่า

2. นิยามที่สำคัญ เพื่อให้รู้ว่าอะไร และใคร เข้าข่ายตามพ.ร.ก.ฯ บ้าง (มาตรา 3) ซึ่งอันนี้จะยกมาเลยนะครับ สรุปย่อไม่ได้ เดี๋ยวขาดใจความสำคัญ โดยเฉพาะ Bullet สุดท้ายของข้อนี้ จะบอกเลยว่าธุรกิจแบบไหนที่เข้าข่าย


(ตัวอย่างหน้าจอเว็บไซต์ของผู้ให้บริการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในต่างประเทศ)

3. ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ถือเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายฟอกเงิน (มาตรา 6) .. ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจนี้ต้องไปเกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. ด้วย

4. การออก ICO ที่ระดมทุนเป็นเงินคริปโต (ไม่ใช้เงินบาท) ต้องทำผ่านผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตตามพ.ร.ก.ฯ เท่านั้น (มาตรา 9) /F

5. ภาครัฐสามารถเก็บค่าธรรมเนียมในการออก ICO ได้ด้วย(มาตรา 10 วรรค 2)

6. การออก ICO จะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. และให้นิติบุคคลประเภท บจ. และ บมจ. เป็นผู้ออก ICO ได้เท่านั้น และต้องยื่น Filing ตามเกณฑ์ ก.ล.ต. ด้วย (มาตรา 17 วรรค 1 ) ยกเว้นถ้า กล.ต. มีการกำหนดประเภท ICO บางลักษณะที่ไม่ต้องอิงตามพ.ร.ก.ฯ ก็ไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายนี้ (แต่ก็จะต้องดำเนินการตามเกณฑ์อื่นแทน) (มาตรา 16) รวมถึง มีผลกับโทเคนดิจิทัลที่มีการออกไว้แล้วและกำลังเตรียมจะทำ ICO ด้วย (มาตรา 17 วรรค 2)

โดยระหว่างรอ ก.ล.ต. ออกเกณฑ์สืบเนื่องจากพ.ร.ก.ฯ ผู้ที่สนใจจะออก ICO (มาตรา 17 วรรค 1) หรือได้ออก ICO ไปแล้วซึ่งถูกกำกับด้วย (มาตรา 17 วรรค 2) แนะนำให้อ่านเกณฑ์ IPO และ Post-IPO ของ ก.ล.ต. เตรียมไว้ได้เลย .. คิดว่าส่วนของ ICO อาจจะออกมาในทำนองคล้ายกับ IPO โดยสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียด (ซึ่งเยอะมาก) ได้ที่ี http://law.sec.or.th/

7. การออก ICO จะเสนอขายให้กับนักลงทุนได้เพียงบางประเภทเท่านั้น ซึ่ง ก.ล.ต. จะเป็นผู้กำหนด (มาตรา 18) .. ซึ่งนักลงทุนบางประเภทนั้น ก็อาจจะเป็น Ultra High Net Worth หรือ High Net Worth ต้องรอดูเกณฑ์ ก.ล.ต. ต่อไป

8. การเสนอขาย ICO จะทำได้เมื่อ ก.ล.ต. อนุมัติแบบแสดงข้อมูล (Filing) แล้วเท่านั้น และต้องเสนอขายผ่านระบบที่ ก.ล.ต. เห็นชอบเท่านั้นด้วย (มาตรา 19) /T

9. ก.ล.ต. มีสิทธิกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมกิจการ ของผู้ออก ICO ได้ด้วย (มาตรา 21) และมีอำนาจในการให้ความเห็นชอบ (หรือไม่เห็นชอบ) การแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหาร ผู้ออก ICO ด้วย (มาตรา 29)

10. ผู้ออก ICO ต้องส่งงบการเงินและข้อมูลสำคัญที่อาจมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนให้กับ ก.ล.ต. ด้วย (มาตรา 25)

11. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ดูข้อ 2) ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคคลัง (มาตรา 26) .. นั่นคือ จะทำธุรกิจได้อย่างถูกต้องต้องขอไลเซนส์ก่อนด้วย

12. ประเด็นสำคัญที่ ก.ล.ต. ใช้พิจารณาควบคุมการประกอบธุรกิจ (มาตรา 30) คือ

13. ทรัพย์สินของลูกค้าต้องมีการทำบัญชีแยกแต่ละราย และต้องเก็บแยกออกจากบัญชีของผู้ประกอบธุรกิจเอง (มาตรา 31 วรรค)

14. หากผู้ประกอบธุรกิจมีฐานะการเงินหรือการดำเนินการที่อาจทำให้ประชาชนเสียหาย และเมื่อ ก.ล.ต. สั่งแก้ไขแล้วไม่ดำเนินการ อาจถูกสั่งให้ระงับการประกอบธุรกิจเป็นการชั่วคราวได้ (มาตรา 35 วรรค 2) และหากยังคงฝ่าฝืน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อาจเพิกถอนการอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจ (สั่งปิด) ได้ (มาตรา 35 วรรค 3)

15. การปล่อยข่าวเท็จเพื่อปั่นราคาสินทรัพย์ดิจิทัล ถือเป็นความผิด (มาตรา 40 และ 41) /I

16. การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลภายใน (Insider trading) เพื่อเอาเปรียบผู้อื่น ถือเป็นความผิด (มาตรา 42 วรรค 2) โดยให้ถือว่า กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นใหญ่ พนักงานที่รับผิดชอบข้อมูลภายใน เป็นผู้ที่มีข้อมูลภายใน (มาตรา 43)

17. การส่งคำสั่งซื้อขายตัดหน้าลูกค้า (Front run) ถือเป็นความผิด (มาตรา 45)

18. การสร้างปริมาณการซื้อขายที่ผิดปกติ เพื่อปั่นราคา ถือเป็นความผิด (มาตรา 46)

19. พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังนี้ (มาตรา 51)

20. โทษทางอาญา

21. สำหรับผู้ประกอบธุรกิจในปัจจุบัน หากจะดําเนินกิจการต่อไป ให้ยื่นคําขออนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกําหนดนี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกําหนดนี้มีผลใช้บังคับ และเมื่อได้ยื่นคําขออนุญาตแล้ว ให้ดําเนินกิจการต่อไปได้จนกว่าจะมีคําสั่งไม่อนุญาต (มาตรา 100) /F

โดยสรุปแล้ว

• อ่านพ.ร.ก.ฯ ฉบับเต็มได้ที่นี่ http://bit.ly/digitalassetslaw1 มีทั้งหมด 100 มาตรา 28 หน้า

ป.ล. สังเกตได้ว่า Digital เขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยอย่างถูกต้องคือ “ดิจิทัล” ไม่ใช่ ดิจิตอล หรือ ดิิจิตัล /T

(ตัวอย่างสินทรัพย์ดิจิทัลสกุลหลักของโลกเรียงตามมูลค่าตลาด .. ข้อมูลจาก coinmarketcap.com)

———-

นอกจากนั้น ในวันเดียวกัน ก็ได้มีการออกพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล .. ทั้งนี้ ประมวลรัษฏากร คือ ศูนย์รวมกฎเกณฑ์ของภาครัฐในเรื่องการจัดเก็บภาษีต่าง ๆ /I

22. ให้นำส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์จากการถือครองโทเคนดิจิทัล มารวมเป็นรายได้พึงประเมิน มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร (มาตรา 3) .. ก็คือให้นึกถึงแบบฟอร์มยื่นภาษีเงินได้ที่ต้องกรอกเงินเดือน เงินปันผล ต่อจากนี้จะต้องนำกำไรหรือประโยชน์ที่ได้จากโทเคนดิจิทัล (ที่ได้มาตอนซื้อ ICO หรือซื้อในตลาดรองทีหลัง) มารวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีด้วย

23. ผู้จ่ายส่วนแบ่งรายได้หรือประโยชน์ตามข้อ 22 ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก่อน ในอัตรา 15% ของเงินได้นั้น (มาตรา 4) /F

• อ่านพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ฉบับเต็ม ได้ที่ http://bit.ly/digitalassetslaw2
• อ่านประมวลรัษฏากร มาตรา 40 และ 50 ฉบับเต็ม ได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html

– รวบรวมและสรุปข้อมูลโดย SJ@TIF

———-

อ่านบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลได้ที่นี่ http://bit.ly/TIF_DigitalAssets

Exit mobile version